แชร์ทริคปั้น Marketing Data Report ด้วย Social Listening Tools ถึงเวลาที่นักการตลาดยุคดิจิทัลจะอัพ skill ทำความรู้จักกับ Social Listening Tools อย่างจริงจังกันได้แล้วนะคะ เหตุผลก็เพราะว่านอกจากจะสามารถพัฒนาความสามารถของนักการตลาดเองให้ทันโลกได้แล้ว ยังติดตัวไว้คอมเมนต์งานเอเจนซี่ได้ด้วยนะคะ
แน่นอนว่าหลายคนคงเคยผ่านหรือยังต้องทำ Social media marketing report ส่งหัวหน้าเป็นรายวัน อาทิตย์ หรือเดือนอยู่ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ หลังจบแคมเปญจ้าง KOL ให้โปรโมทสินค้าหลายๆ เพจ หลังจบแคมเปญหัวหน้าก็จะขอรีพอร์ตเช็คว่ายอดเอนเกจเป็นยังไงบ้างใช่ไหม ยังมีบริษัทไหนค่อยๆ เปิดทีละเพจแล้วไล่แคปเอาอยู่หรือเปล่า? วันนี้นุ่นอยากให้ทุกคนเก็บการทำรีพอร์ตแบบเดิมตั้งต้นไว้ก่อน
แล้วนุ่นจะมาแชร์ให้อ่านว่า Social Listening Tools สามารถเข้ามาช่วยทำให้ลดระยะเวลาการทำงานและเพิ่มปรสิทธิภาพให้รายงานของนักการตลาดยังไงบ้าง เพราะบางทีเราจ้างเอเจนซี่สัญญาเป็นเดือนๆ เป็นงานๆ แล้วจบ แอบคิดมั้ยว่าคนนอกจะมาอินหรือรู้ทุกซอกทุกมุมเกี่ยวกับแบรนด์เท่าเราได้ยังไง
ส่วนที่สำคัญไม่แพ้อย่างอื่นเกี่ยวกับการทำการตลาดบน Social media ก็คือรายงานผลนี่แหละค่ะ เพราะเราสามารถนำมาพัฒนาแพลนอื่นต่อได้อีกหลายแง่มุมเลย ทั้งยังวิเคราะห์ประสิทธิภาพของช่องทางการตลาด KOL ที่จ้างไปว่าคุ้มค่าเงินไหม เรามาลองลดเวลาทำรีพอร์ตด้วยเครื่องมือกวาด Social Data อย่าง Mandala กันนะคะ ถ้าอยากทำความรู้จักเครื่องมือเบื้องต้นก่อน นุ่นแนะนำให้อ่านใน บทความที่เกี่ยวกับ Mandala ก่อนที่จะมาเก็บทริคจากบทความนี้นะคะ
การทำ Marketing Report ทำได้หลายรูปแบบตามสไตล์ของแต่ละคน
นุ่นจะแชร์ทริคส่วนตัว อยากให้ลองนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับแคมเปญของตัวเองดูนะคะ และแคมเปญตัวอย่างของเราในวันนี้จะต่อเนื่องมาจากบทความ Case Study ถอดรหัส Twitter Marketing Campaign : PEPSI x BLACKPINK มาเริ่มเลยค่ะ
KPIs เบื้องต้นที่ต้องมีในรีพอร์ตคงหนีไม่พ้น :
-Likes and followers
-Total Mentions
-Engagement
-Top performing posts
กลุ่มเป้าหมายมี Mention และ Engagement กับแคมเปญเวลาไหนบ้าง
รีพอร์ตอื่นๆ ที่เคยทำมาอาจจะโชว์เวลาได้ไม่ละเอียดพอให้เห็นไอเดีย กราฟด้านบนแสดงให้เห็นว่ากลุ่มเป้าหมายแคมเปญ มาเมนชั่นสูงสุดเวลา 18:00น. ที่เพจอาจุมม่าบ้าเกาหลี จุดนี้ถือว่าแป๊ปซี่คิดถูกที่เจาะกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเกี่ยวกับ K-POP อยู่แล้วผ่านเพจที่เกี่ยวกับเกาหลีค่ะ
ดู Gender Time Density ของแคมเปญ
ดูเหมือนบลิ๊งชายและหญิงจะมีพฤติกรรมการใช้โซเชี่ยลต่างกันโดยสิ้นเชิง บลิ๊งเพศชายเข้ามาให้ความสนใจแคมเปญสูงในช่วง 16:00น. แสดงว่าส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้ทำงานประจำกันหรือเปล่านะ ในขณะที่เพศหญิงนั้นจะมาในช่วงเวลา 18:00น.หลังเลิกงานแล้ว
บางแคมเปญถ้าอยากจะทำ season 2 แต่ยังไม่รู้ว่าจะวางตารางคอนเทนต์ยังไงดี นักการตลาดสามารถใช้เวลาจาก Gender time density เพื่อเป็นไกด์ในการวางเวลาลงคอนเทนต์ตามเป้าหมายชาย หญิง ได้เช่นกันค่ะ
สรุป แชร์ทริคปั้น Marketing Data Report ด้วย Social Listening Tools
และนี่ก็เป็นทริคการทำรีพอร์ตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เร็วขึ้น ไม่กินเวลางานหลัก จากมุมมองที่เล่นกับ Data โดยกวาดจาก Social Listening Tools ค่ะ นักการตลาดอาจจะลองนำไปเสริมให้รีพอร์ตเดิมมีอะไรแปลกใหม่ที่ช่วยให้งานเร็วขึ้น เห็นมุมอื่นเพิ่มขึ้นได้นะคะ
อย่างที่นุ่นได้บอกไปช่วงต้นบทความว่า สไตล์การทำรีพอร์ตของแต่ละคน แต่ละแคมเปญไม่เหมือนกันแล้วแต่จุดประสงค์ ให้บทความนี้เป็นไกด์ช่วยอีกแรงนะคะ สุดท้ายนี้ต้องขอบคุณ Mandala สำหรับเครื่องมือดีดี ที่ทำให้เกิดบทความนี้ขึ้นมาด้วยค่ะ